สำนักงานปลัด อบต. – ข้อมูลสำหรับประชาชน
สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับเอกสาร สารการจัดทำแผนพัฒนาสามปี การจัดทำร่างข้อบัญญัติ การจัดทำทะเบียนสมาชิกสภา อบต. และคณะผู้บริหาร การดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การให้คำปรึกษาหน้าที่และความรับผิดชอบการปกครองบังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้าง การบริหารงานบุคคลของ อบต. ทั้งหมด การดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตต่าง ๆ และการปฏิบัติงานด้านสวัสดิการสังคม เกี่ยวกับการสังคมเคราะห์ การส่งเสริมการเกษตร การอนุรักษ์แหล่งน้ำ และป่าไม้ การให้คำปรึกษาแนะนำและตรวจสอบเกี่ยวกับงานสวัสดิการสังคมและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย แบ่งส่วนราชการภายใน ออกเป็น 5 งาน คือ
งานบริหารทั่วไป มีหน้าที่ความรับผิดชอบ - งานสารบรรณ - งานบริหารงานบุคคล - งานเลือกตั้งและทะเบียนข้อมูล - งานตรวจสอบภายใน งานนโยบายและแผน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ - งานนโยบายและแผน - งานวิชาการ - งานข้อมูลและการประชาสัมพันธ์ - งานงบประมาณ งานกฎหมายและคดี มีหน้าที่ความรับผิดชอบ - งานกฎหมายและคดี - งานร้องเรียนร้องทุกข์และอุทธรณ์ - งานข้อบัญญัติและระเบียบ งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเทศกิจ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ - งานอำนวยการ - งานป้องกัน - งานฟื้นฟู งานกิจการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ความรับผิดชอบ - งานระเบียบข้อบังคับประชุม - งานการประชุม - งานอำนวยการและประสานงาน - งานติดตามผลการปฏิบัติงานตามมติ
สำนักงานปลัด – คู่มือ อบต.
สำนักงานปลัด มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับราชการทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลสะพือและราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกองหรือส่วนราชการใดในองค์การบริหารส่วนตำบลสะพือ โดยเฉพาะรวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนตำบลสะพือ ให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทางและแผนปฏิบัติราชการองค์การบริหารส่วนตำบลสะพือ การบริหารงานบุคคล งานรับเรื่องราวร้องทุกข์ (งานนิติกร) การจัดเตรียมการเลือกตั้งการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย ตลอดจนงานบริการสืบค้นข้อมูลข่าวสารอื่นๆ
ขั้นตอนติดต่อราชการ
ร้องทุกข์ / ร้องเรียน ขั้นตอนให้บริการ 1.ผู้ร้องทุกข์ / ร้องเรียน - ยื่นคำร้องตามแบบ (คำร้องทั่วไป) ต่อเจ้าหน้าที่ - กรณีร้องทางโทรศัพท์เจ้าหน้าที่ผู้รับคำร้องกรอกข้อมูลตามแบบ (แบบรับคำร้องทางโทรศัพท์) 2. ส่วนงาน/หัวหน้างานที่รับผิดชอบตรวจสอบข้อเท็จจริงตามคำร้องและดำเนินการแก้ไขปัญหาตามอำนาจหน้าที่/ตามกฎหมาย 3. แจ้งผู้ร้องทุกข์
การขอข้อมูลข่าวสารตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสาร พ.ศ.2540 ขั้นตอนการให้บริการ 1. ผู้ขอยื่นคำขอตามแบบ (คำร้องขอสำเนาข้อมูลข่าวสาร) ต่อเจ้าหน้าที่ 2. เจ้าหน้าที่ยื่นคำขอต่อผู้บังคับบัญชา - อนุญาต (จัดเตรียมเอกสารให้ตามคำขอ) - ไม่อนุญาต (แจ้งผู้ทราบพร้อมเหตุผล) เอกสารประกอบการพิจารณา - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ที่จะขอข้อมูล